สมาคมรถจักรยานยนต์สยาม

http://siammca.siam2web.com/


ข้อบังคับ

ของ

สมาคมรถจักรยานยนต์สยาม


----------------------------

หมวดที่ ๑


ความทั่วไป


 

ข้อ ๑.    สมาคมนี้มีชื่อว่า    สมาคมรถจักรยานยนต์สยาม


 

ย่อว่า  สจยส 


 

เรียกเป็น ภาษาอังกฤษ ว่า SIAM MOTORCYCLE ASSOCIATION ( S M C A )


ข้อ ๒.   เครื่องหมายของสมาคม มีลักษณะเป็นพื้นสี่เหลี่ยม สีดำ ขนาด๒.๕ / ๒.๕ นิ้ว ตรงกลาง


ด้านบนมีอักษร ภาษาไทย  ส จ ย ส สีเหลือง ย่อมาจากสมาคมรถจักรยานยนต์สยาม ใต้อักษรถัดลง


มาเป็นรูปธงชาติไทยโบกสะบัดหมายถึงการเชิดชูสถาบัน  ชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์  ฐานธงชาติ


จะเป็นรูปริบบิ้นสีส้มสองข้างตรงกลางเป็นอักษร สมาคมรถจักรยานยนต์สยาม   ส่วนข้างล่างจะเป็น


ภาษาอังกฤษ คำว่า SIAM  MOTORCYCLE  ASSOCIATION สีส้มและอักษรภาษาอังกฤษ 


THAILAND สีเหลืองสองข้างมือสีขาวจับกัน หมายถึง ความรัก ความสามัคคีของชาวสองล้อใน


ประเทศสยาม ด้านล่างตรงกลางเป็นตัวเลข 2009 สีดำบนตัวอักษร A สีเหลือง


หมาย ถึง ค.ศ.จัดตั้งสมาคม ใต้ฐานรวมเป็นตัวอีกษรภาษาอังกฤษว่า SIAM สีเหลือง


          รวมหมายความถึง เหล่าสมาชิกรถจักยานยนต์สามัคคีพร้อมเพรียงกันขับขี่รถจักรยานยนต์


ท่องเที่ยวไปในแดนสยามเพื่อร่วมกันกระทำความดีเชิดชูสถาบัน ชาติ  ศาสนา และพระมหากษัตริย์


ข้อ ๓.     สำนักงานของสมาคมตั้งอยู่ ณ โรงงานอาร์แอนด์แอล เลขที่ ๑๑๐  หมู่ที่ ๑  ถ.แก่งคอย


- ป่าขะ ต.ป่าขะ อ.บ้านนา  จ.นครนายก


ข้อ ๔.   วัตถุประสงค์ของสมาคม


 

๔.๑.ดำเนินกิจกรรมการกุศล สาธารณะกุศลต่างๆเพื่อประโยชน์ของสังคม 


 

 

 

๔.๒.รักษาและดำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีไทย การเคารพระหว่างผู้ใหญ่ ผู้น้อย


 

๔.๓รักษา และ ปฏิบัติตามกฎจราจรโดยเคร่งครัด  สนับสนุน ส่งเสริม การใช้กฎหมายจราจร


ที่ถูกต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการขับขี่รถจักรยานยนต์ รถยนต์ อย่างปลอดภัย 


 

๔.๔รักษาสนับสนุนวัฒนธรรม ธรรมเนียมที่ดีของชาวสองล้อ การขับขี่รถที่ถูกต้องตามกฎ


จราจร  ดูแล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  มีกิริยาวาจาที่สุภาพ อ่อนน้อม


 

๔.๕ จัดสวัสดิการต่างๆให้กับสมาชิกเช่นเจ็บป่วย ถึงแก่กรรม ให้คำปรึกษาหารือเป็นศูนย์รวมใจ


ของสมาชิก  พบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกื้อกูลซึ่งกันและกัน.


 

๔.๖ รักษา เทิดทูน และดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


 

๔.๗ ไม่ประสงค์จะจัดตั้งโต๊ะบิลเลียดและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง


 

 


หมวดที่ ๒


สมาชิก


ข้อ ๕.   สมาชิกของสมาคมมี ๒ ประเภท คือ


 

๕.๑  สมาชิกสามัญ  ได้แก่ สมาชิกที่ยื่นสมัครเป็นสมาชิกสามัคคีสมาคมด้วยความสมัครใจ   

 


เต็มใจโดยมีคุณสมบัติตามข้อบังคับ และมติกรรมการสมาคมรับรอง

 

๕.๒     สมาชิกกิตติมศักดิ์  ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการคุณแก่สมาคม

ซึ่งคณะกรรมการลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

ข้อ ๖.    สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

 

๖.๑       เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว

 

๖.๒      เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย  เป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตามวัฒนธรรม ธรรมเนียมที่ดี ตลอดจน

การขับขี่รถที่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

๖.๓      ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ

 

๖.๔     ไม่ต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถหรือเสมือน              

ไร้ความสามารถหรือต้องโทษจำคุก ยกเว้นความผิดฐานประมาทหรือลหุโทษการต้องคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด     

ในกรณีดังกล่าว จะต้องเป็นในขณะที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในระหว่างที่เป็นสมาชิกของสมาคมเท่านั้น

ข้อ ๗.   ค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคม

 

๗.๑      สมาชิกสามัญ    จะต้องเสียค่าลงทะเบียนครั้งแรก……..……๑๐๐……..………บาท

 

 

 

ค่าบำรุงสมาคมเป็นรายเดือน และค่าบำรุงเป็นรายปีไม่มี

 

๗.๒     สมาชิกกิตติมศักดิ์      มิต้องเสียค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมแต่อย่างใดทั้งสิ้น

ข้อ ๘.  การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้ประสงค์จะสมัครโดยมีสมาชิกสามัญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม

ยื่นใบสมัครตามแบบของสมาคมต่อเลขานุการ  รับรองอย่างน้อย  ๑  คน  และให้เลขานุการ ติดประกาศรายชื่อ

ผู้สมัครไว้ ณ สำนักงานของสมาคม เป็นเวลาไม่น้อยกว่า  ๑๕  วัน เพื่อให้สมาชิกอื่น ๆของสมาคมจะได้คัดค้าน

การสมัครนั้น เมื่อครบกำหนดประกาศแล้ว  ก็ให้เลขานุการนำใบสมัครและหนังสือคัดค้านของสมาชิก (ถ้ามี) เสนอ

ต่อที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติว่า จะรับหรือไม่รับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมและเมื่อคณะกรรมการ

พิจารณาการสมัครแล้วผลเป็นประการใดให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว หรือนายกฯและกรรมการ

 2 ท่านเห็นสมควรรับสมาชิกเป็น

กรรมการ 2 ท่าน เห็นว่าสมควรรับสมาชิกเป็นการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของสมาคมให้เป็นสมาชิกโดยทันที

ที่ยื่นใบสมัครและชำระเงินด้วยแล้ว

ข้อ ๙.    ถ้าคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้รับผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก ก็ให้ผู้สมัครนั้นชำระเงินค่าลงทะเบียน

ละค่าบำรุงสมาคมให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเลขานุการ และสมาชิกภาพของผู้สมัคร

ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สมัครได้ชำระเงินค่าลงทะเบียน  และค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าผู้สมัคร

 ไม่ชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงภายในกำหนด  ก็ให้ถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก

ข้อ ๑๐.  สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมศักดิ์  ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่หนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้

พิจารณาลงมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม  ได้มาถึงยังสมาคม

ข้อ ๑๑.  สมาชิกภาพของสมาชิกให้สิ้นสุดลงด้วยเหตุดังต่อไปนี้

 

๑๑.๑     ตาย

 

 

๑๑.๒    ลาออก  โดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้

 

พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ยังติดค้างอยู่กับสมาคมเป็นที่เรียบร้อย

 

๑๑.๓    ขาดคุณสมบัติสมาชิก

 

๑๑.๔    ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบชื่อออกจาก

 

 ทะเบียนเพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม

ข้อ ๑๒. สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

 

๑๒.๑    มีสิทธิเข้าใช้สถานที่ของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน

 

๑๒.๒   มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมต่อคณะกรรมการ

 

๑๒.๓   มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

 

๑๒.๔   มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม

 

๑๒.๕   สมาชิกสามัญมีสิทธิในการเลือกตั้ง หรือได้รับการเลือกตั้ง  หรือแต่งตั้งเป็นกรรมการสมาคม   

และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่าง ๆ  ในที่ประชุมได้คนละ ๑ คะแนนเสียง

 

๑๒.๖    มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการ เพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม

 

๑๒.๗   มีสิทธิเข้าชื่อร่วมกันอย่างน้อย  ๑  ใน ๕ ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือสมาชิกจำนวน

ไม่น้อยกว่า ๑๐๐ คน ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญได้

 

๑๒.๘   มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติ และข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด

 

๑๒.๙    มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม

 

๑๒.๑๐  มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสมาคม

 

๑๒.๑๑  มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น

 

๑๒.๑๒ มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

 

 

   

หมวดที่ ๓

การดำเนินกิจการสมาคม

ข้อ ๑๓.  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนอย่างน้อย…๑๐…..…คน 

อย่างมากไม่เกิน…๒๕ .คน  คณะกรรมการนี้ ต้องเป็นสมาชิกสามัญที่ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของ

สมาคม และให้ผู้ที่ได้เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ เลือกตั้งกันเองเป็นนายกสมาคม ๑ คนและอุปนายกไม่ต่ำกว่า           

  ๒…คน    สำหรับตำแหน่งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ   ให้ นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที

ประชุมใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ของสมาคม  ตามที่ได้กำหนดไว้ซึ่งตำแหน่งของกรรมการสมาคม

มีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้

๑๓.๑   นายกสมาคม 

ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจการของสมาคม คณะกรรมการของ

 

 

 

สมาคมเป็นผู้แทนสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอกและทำหน้าที่

 

 

 

เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการ  และการประชุมใหญ่ของสมาคม

๑๓.๒   อุปนายก 

ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการสมาคม ปฏิบัติตาม

 

 

 

หน้าที่ที่นายกสมาคมได้มอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคม

 

 

 

เมื่อนายกสมาคมไม่อยู่   หรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่

 

 

 

แทนนายกสมาคม ให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำการแทน

๑๓.๓    เลขานุการ 

ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคมทั้งหมดเป็นหัวหน้า เจ้าหน้าที่ของ

 

 

 

สมาคมในการปฏิบัติกิจการของสมาคมและปฏิบัติตามคำสั่งของนายก

 

 

 

ตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

๑๓.๔    เหรัญญิก 

มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชี  รายรับ รายจ่าย

 

 

 

บัญชีงบดุลของสมาคม และเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ของสมาคมไว้เพื่อ

 

 

 

ตรวจสอบ

๑๓.๕    ปฏิคม   

มีหน้าที่ในการให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียม

 

 

 

สถานที่ของสมาคม และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่าง ๆ ของสมาคม

๑๓.๖    นายทะเบียน 

มีหน้าที่เกี่ยวกับทะเบียนสมาชิกทั้งหมดของสมาคมประสานงานกับ

 

 

 

เหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าบำรุงสมาคมจากสมาชิก

๑๓.๗    ประชาสัมพันธ์

มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิก  และ

 

 

 

บุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

๑๓.๘    กรรมการตำแหน่งอื่น ๆ 

ตามความเหมาะสม  ซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น

 

 

 

โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้วจะต้องไม่เกิน

 

 

 

จำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่ง

 

 

 

ก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง

คณะกรรมการชุดแรก ให้ผู้เริ่มการจัดตั้งสมาคมเป็นผู้เลือกตั้ง ประกอบด้วยนายกสมาคมและกรรมการอื่น ๆ 

ตามจำนวนที่เห็นสมควรตามข้อบังคับของสมาคม

ข้อ ๑๔.  คณะกรรมการของสมาคมสามารถอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ    ๒    ปี   และเมื่อคณะกรรมการอยู่ใน

ตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ

ก็ให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับอนุญาต          

ให้จดทะเบียนจากทางราชการ  และเมื่อคณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ

เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งและรับมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและ  คณะกรรมการชุดใหม่

ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ

ข้อ ๑๕.  ตำแหน่งกรรมการสมาคม  ถ้าต้องว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระก็ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิก

สามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น แต่ผู้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่

ในตำแหน่งได้เท่ากับวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น

ข้อ ๑๖.  กรรมการอาจจะพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้ คือ

 

๑๖.๑     ตาย

 

๑๖.๒    ลาออก

 

๑๖.๓    ขาดจากสมาชิกภาพ

 

๑๖.๔    ที่ประชุมใหญ่ลงมติให้ออกจากตำแหน่ง

ข้อ ๑๗.  กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ

คณะกรรมการ และให้พ้นจากตำแหน่งเมื่อคณะกรรมการมีมติให้ออก

ข้อ ๑๘. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ

 

๑๘.๑    มีอำนาจออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ปฏิบัติ โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้อง

ไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้

 

๑๘.๒   มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม

 

๑๘.๓    มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการได้ แต่กรรมการที่ปรึกษา หรือ           

อนุกรรมการ จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง

 

๑๘.๔    มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปี และประชุมใหญ่วิสามัญ

 

๑๘.๕    มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่น ๆ ที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

 

๘.๖    มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม  เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนมีอำนาจอื่น ๆ 

ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้

 

๑๘.๗    มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมด รวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม

 

๑๘.๘    มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ตามที่สมาชิกสามัญจำนวน ๑ ใน ๕ ของสมาชิก

ทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น ซึ่งการนี้จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญขึ้น

ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ

 

๑๘.๙    มีหน้าที่จัดทำเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรม

ต่างๆ ของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถจะให้สมาชิกตรวจดูได้ เมื่อสมาชิกร้องขอ

 

๑๘.๑๐ จัดทำบันทึกการประชุมต่าง ๆของสมาคมเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานและจัดส่งให้สมาชิกได้รับทราบ

 

๑๘.๑๑  มีหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้   

ข้อ ๑๙.  คณะกรรมการจะต้องประชุมกันอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ตามที่นายกสมาคมเห็นสมควร 

ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม

ข้อ ๒๐. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด

จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนน

เสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ ๒๑. ในการประชุมคณะกรรมการ  ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถ

ปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่

เป็นประธานในการประชุมคราวนั้น

   หมวดที่ ๔

การประชุมใหญ่

ข้อ ๒๒.  การประชุมใหญ่ของสมาคมมี   ๒   ชนิด  คือ

 

๒๒.๑ ประชุมใหญ่สามัญ

 

๒๒.๒ ประชุมใหญ่วิสามัญ

 

ข้อ ๒๓. คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละ ๑ ครั้ง ตามที่นายกสมาคมจะสมควร

กำหนดวัน

 

ข้อ ๒๔. การประชุมใหญ่วิสามัญ  อาจจะมีขึ้นได้ก็โดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้น  

ด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า  ๑  ใน  ๕  ของสมาชิกสามัญทั้งหมด หรือสมาชิกจำนวน

ไม่น้อยกว่า ๑๐๐  คน  ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น

ข้อ ๒๕.   การแจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้เลขานุการเป็นผู้แจ้งกำหนดนัดประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบ

และการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร  โดยระบุวัน  เวลา  และสถานที่ให้ชัดเจน  โดยจะต้อง   

สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า  ๗  วัน  ก่อนถึงกำหนดการประชุมใหญ่

ข้อ ๒๖.   การประชุมใหญ่สามัญประจำปี จะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้

 

๒๖.๑  แถลงกิจการที่ผ่านมาในรอบปี

 

๒๖.๒  แถลงบัญชีรายรับ  รายจ่าย  และบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ

 

๒๖.๓  เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ เมื่อครบกำหนดวาระ

 

๒๖.๔  เลือกตั้งผู้สอบบัญชี

 

๒๖.๕  เรื่องอื่น ๆ  ถ้ามี   

ข้อ ๒๗. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วม ประชุม

ไม่น้อยกว่า 50 คนของสมาชิกสามัญที่มีอยู่ทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมยังมี

สมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้คณะกรรมการของสมาคม เรียกประชุมใหญ่อีกครั้ง โดยจัดให้

มีการประชุมขึ้นภายใน ๑๔ วัน  นับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรกสำหรับการประชุมในครั้งหลังนี้  ถ้ามีสมาชิกสามัญ

เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเท่าใด  ก็ให้ถือว่าครบองค์ประชุม ยกเว้นถ้าเป็นการประชุมใหญ่วิสามัญที่เกิดขึ้นจาก

การร้องขอของสมาชิก  ก็ไม่ต้องจัดประชุมใหญ่  ให้ถือว่าการประชุมเป็นอันยกเลิก

ข้อ ๒๘. การลงมติต่าง ๆ ในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ก็ให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก

เป็นเกณฑ์  แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติมีคะแนนเสียงเท่ากัน  ก็ให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด

ข้อ ๒๙. ในการประชุมใหญ่ของสมาคม  ถ้านายกสมาคม และอุปนายกสมาคมไม่มาร่วมประชุม หรือไม่สามารถ

จะปฏิบัติหน้าที่ได้  ก็ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่ง ให้ทำหน้าที่เป็น

ประธานในการประชุมคราวนั้น

 

   หมวดที่ ๕   

การเงินและทรัพย์สิน

ข้อ ๓๐.  การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เงินสดของสมาคมถ้ามีให้นำ

ฝากไว้ในธนาคาร……ทหารไทย    สำนักงานใหญ่ กทม.

ข้อ ๓๑.  การลงนามในตั๋วเงินหรือเช็คของสมาคม  จะต้องมีลายมือชื่อของนายกสมาคม หรือผู้ทำการแทนลงนาม

ร่วมกับเหรัญญิก หรือเลขานุการ พร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้ได้

ข้อ ๓๒. ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน..…๒๐,๐๐๐……………บาท

 

(    สองหมื่นบาทถ้วน  ) ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและคณะกรรมการ

จะอนุมัติให้จ่ายเงินได้ครั้งละไม่เกิน.   ๕๐,๐๐๐  บาท

 

(  ห้าหมื่นบาทถ้วน  ) ถ้าจำเป็นจะต้องจ่ายเกินกว่านี้ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ของสมาคม

ข้อ ๓๓.ให้เหรัญญิก  มีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน   ๑๐,๐๐๐  .บาท

 

(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันทีที่โอกาสอำนวยให้

ข้อ ๓๔.เหรัญญิก  จะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุล ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ การรับหรือ

จ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน   ร่วมกับ    

เหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนและเลขานุการหรือผู้แทน พร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง         

ข้อ ๓๕.ผู้สอบบัญชี จะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต

ข้อ ๓๖. ผู้สอบบัญชี มีอำนาจหน้าที่จะเรียกเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สินจากคณะกรรมการ และสามารถ

จะเชิญกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถาม เกี่ยวกับบัญชีและทรัพย์สินของสมาคมได้

ข้อ ๓๗. คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชี เมื่อได้รับการร้องขอ

 

หมวดที่ ๖

              การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

ข้อ ๓๘. ข้อบังคับสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมี

สมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 50 คนของสมาชิกสามัญที่มีอยู่ทั้งหมดมติของที่ประชุมใหญ่ในการให้        

เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับ จะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด

ข้อ ๓๙. การเลิกสมาคมจะเลิกได้ก็โดยมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม  ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของ

กฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ที่ให้เลิกสมาคมจะต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ ของสมาชิก         

สามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด  และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญทั้งหมด

ข้อ ๔๐.  เมื่อสมาคมต้องเลิก ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชี

เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นของ…มูลนิธิชัยพัฒนา……………………………………………

(ผู้รับต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล  มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์)

 

หมวดที่ ๗

บทเฉพาะกาล

 

ข้อ ๔๑.  ข้อบังคับฉบับนี้นั้น ให้เริ่มใช้บังคับได้นับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับอนุญานิติตให้จดทะเบียนเป็นบุคคล

เป็นต้นไป

ข้อ ๔๒. เมื่อสมาคมได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากทางราชการ ก็ให้ถือว่าผู้เริ่มการทั้งหมดเป็น

สมาชิกสามัญ และสมาชิกของคณะกรรมที่ตั้งขึ้น เริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียน

 

 

 

                           

 

 

  (ลงชื่อ) พ.ต.ท.………………….……………………...........................................                            

 

 

 

(  กฤตนัย       สาระผล  )

 

 

 

 

 ผู้จัดทำข้อบังคับโดยได้ประชุมร่วมกับคณะเริ่มการจัดตั้งเพื่อจดทะเยียนสมาคม

 

 

  ( ลงชื่อ )  ..................................................................................

 

 

 

( นางเสาวนีย์     ผ่องสุวรรณ์ )

 

 

 ผู้ร่วมจัดทำข้อบังคับโดยได้ประชุมร่วมกับคณะเริ่มการจัดตั้งเพื่อจดทะเบียนสมาคม

               

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 7,403 Today: 6 PageView/Month: 45

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...